อากาศร้อนจัด ทำให้หลายบ้านต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อช่วยบรรเทาความร้อน แต่เมื่อบิลค่าไฟมา กลับรู้สึกหนาวเข้ากระดูก หรือไม่ก็ทำให้หัวร้อนยิ่งกว่าเดิม เชื่อว่าเป็นกันแทบทุกบ้าน เรามาเช็กกันหน่อยดีกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทไหนกินไฟสุด ทำให้ค่าไฟแพงจนฉุดไม่อยู่
10 เครื่องใช้ไฟฟ้าบ้านที่กินไฟมากที่สุด โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้
1. เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า ใช้ไฟ 3,500 – 8,000 วัตต์
2. เตารีดไฟฟ้า ใช้ไฟ 1,000 -2,600 วัตต์
3. ไดร์เป่าผม ใช้ไฟ 1,000 – 2,000 วัตต์
4. เตาไมโครเวฟ (20 – 32 L) ขนาด 1,000 -1,880 วัตต์
5. เครื่องปรับอากาศ ชนิด Fixed Speed (9,000 – 36,000 BTU / HR) ใช้ไฟ 730 – 3,300 วัตต์
6. เครื่องปรับอากาศ ชนิด Inverter (9,000 – 36,000 BUT /HR) ใช้ไฟ 455 – 3,300 วัตต์
7. เครื่องซักผ้า ใช้ไฟ 450 – 2,500 วัตต์
8. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า (1 – 3 L) ใช้ไฟ 450 – 1,000 วัตต์
9. ตู้เย็น (1.4 – 26 คิว) ใช้ไฟ 70 – 145 วัตต์
10. พัดลมไฟฟ้า (12 – 18 นิ้ว) ใช้ไฟ 35 – 80 วัตต์
ต้นทุนการผลิตไฟฟ้ามีอะไรบ้าง
การผลิตไฟฟ้ามีต้นทุนที่สำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
1. ค่าไฟฟ้าฐาน
ซึ่งเป็นต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าระบบขนส่ง ระบบจำหน่าย ค่าเชื้อเพลิง ค่าจัดซื้อไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายจิปาถะตามระบบโครงการ
2. ค่าไฟฟ้าผันแปร (FT)
ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่า FT คือ ค่าใช้จ่ายที่มาจากค่าไฟฟ้าฐานหลัก ซึ่งจะมีการปรับทุก ๆ 4 เดือน โดย กกพ. (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) จากการคำนวณตามต้นทุนเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชน และจากต่างประเทศ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐบาล ค่าความผันแปรจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความผันผวนของราคาพลังงานในตลาดโลก และปริมาณไฟฟ้าที่นำเข้าประเทศด้วยเช่นกัน
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษี หรือ vat ที่เราคุ้นเคยกันดี โดยปกติเราจะเสียค่า vat 7% หรือ คิดเป็นอัตราร้อยละ 7 ของค่ารวมระหว่างไฟฟ้าฐาน และค่า FT
ทำไมค่าไฟแพง
แล้วทำไมค่าไฟแพงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะค่าไฟปี 2566 สาเหตุที่ค่าไฟแพงมาก เป็นเพราะ…
- ก๊าซในอ่าวไทยลดลง ทำให้ต้องหันไปใช้ก๊าซเหลว LNG ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น
- มีการสำรองไฟฟ้ามากเกินไป โดยปกติกการสำรองไฟฟ้าในระบบจะมีมากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 15%
รู้กันไปแล้วกับ 10 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟ ลองนำไปพิจารณาเพื่อปรับพฤติกรรมการใช้ไฟดูนะคะ ตัวไหนเบาได้เบา จะได้ไม่หัวร้อนเมื่อบิลค่าไฟมาตอนสิ้นเดือน